เช็คลิสต์ 5 ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับร่มกันยูวี

อย่างที่ทราบกันดีว่าในการใช้งานร่มนั้น ไม่ว่าจะเป็นร่มพับ ร่ม16ก้านหรือร่มสนาม นอกเหนือจากประโยชน์ในการกางเพื่อกันฝน ซึ่งเป็นประโยชน์ใช้งานหลัก ๆ ของสินค้าสามัญประจำบ้านชิ้นนี้แล้ว ก็ยังมีอีกหนึ่งประโยชน์ที่ค่อนข้างโดดเด่นเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อน ซึ่งก็คือการกางเพื่อป้องกันความร้อน และรังสียูวีที่มาพร้อมกับแสงแดดนั่นเอง และด้วยอากาศที่ร้อนจัดในช่วงฤดูร้อนในบ้านเรานี่เองที่ทำให้ผู้ผลิตเจ้าต่าง ๆ มีการผลิตร่มแบบกันยูวีออกมาวางจำหน่ายโดยเฉพาะ ให้ผู้ใช้งานได้เลือกซื้อเลือกหาไปใช้งานได้ตรงกับความต้องการใช้งานมากขึ้น อย่างไรก็ตามจากการผู้ผลิตหลายแบรนด์ หลายเจ้ามีการแบ่งแยกไลน์การผลิตร่มกันฝนทั่วไป กับร่มแบบกันยูวีนี่เอง ที่นำมาซึ่งความเข้าใจผิด ๆ หลายประการเกี่ยวกับร่มกันยูวีในหมู่ผู้ใช้งาน ในบทความนี้จึงได้นำเอา 5 ความเข้าใจผิดยอดฮิตเกี่ยวกับสินค้าชิ้นนี้มาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน

ร่มทั่วไปกันยูวีไม่ได้ ความเข้าใจผิดยอดฮิตเรื่องแรกก็คือ ร่มทั่วไปไม่สามารถกันยูวีได้นั่นเอง ซึ่งด้วยความที่ผู้ผลิต หรือแบรนด์ผู้จำหน่ายหลายรายแบ่งแยกไลน์สินค้ารุ่นธรรมดา และสินค้ารุ่นกันยูวีไว้ชัดเจน ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนเข้าใจผิดไปโดยอัตโนมัติว่าสินค้าที่ไม่ใช่รุ่นกันยูวีนั้นไม่สามารถป้องกันยูวีได้ ทว่าความเป็นจริงแล้ว ผ้า หรือใบร่มทั่ว ๆ ไปก็สามารถป้องกันรังสีชนิดต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับแสงแดดได้อยู่แล้วอย่างเช่นร่มพับ ร่มตอนเดียว ร่มกอล์ฟเป็นต้น เพียงแต่สินค้ารุ่นกันยูวีนั้นจะมีการเคลือบสารป้องกันรังสียูวีทับไปผ้าอีกที ทำให้อัตราการป้องกันยูวีชนิดต่าง ๆ ดีกว่า หรือพูดกันง่าย ๆ ก็คือมีความสามารถในการป้องกันรังสียูวีเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมนั่นเอง

ใบร่มสีเงินสามารถป้องกันยูวีได้ทุกอัน ความเข้าใจผิดยอดฮิตต่อมาก็คือสีของใบ หรือผ้าร่มนั่นเอง โดยหลายคนเข้าใจว่าหากผ้า หรือใบร่มเป็นสีเงินที่ด้านใดด้านหนึ่งก็หมายความว่าสามารถป้องกันรังสียูวีได้ ทว่าในความเป็นจริงแล้วต้องเป็นสีเงินที่มาจากกระบวนการเคลือบสารรป้องกันรังยูวีเท่านั้น ซึ่งหากเป็นสีเงินจากขั้นตอนการทักทอ หรือย้อมโดยวิธีทั่วไป สีเงินนั้น ๆ ก็ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีแต่อย่างใด

ป้องกันความร้อนได้เท่ากัน อีกหนึ่งความเข้าใจผิดของหลายคนที่คลาดเคลื่อนไปจากความจริงพอสมควรเช่นกันก็คือ ร่มแต่ละแบบ(ทั้งที่ผ่านการเคลือบสารกันยูวี และไม่ผ่านการเคลือบ) ป้องกันความร้อนจากแดดได้พอ ๆ กัน เพียงแต่แตกต่างกันที่ร่มที่ผ่านการเคลือบสารจะสามารถป้องกันรังสียูวีได้ดีกว่า ทว่าความจริงแล้วนอกจากความสามารถในการป้องกันยูวีแล้ว ร่มที่ผ่านการเคลือบสารฯยังสามารถกันความร้อนได้ดีกว่าด้วย โดยจากการทดสอบพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยบริเวณใต้ใบร่ม สำหรับสินค้ารุ่นที่ผ่านการเคลือบสารนั้นจะต่ำลงกว่าสินค้ารุ่นที่ไม่ได้เคลืบสารประมาณ 2-4 องศา

ร่มที่ผ่านการเคลือบสารกันยูวีต้องมีสีเงินที่ด้านในเท่านั้น หากสังเกตสินค้าที่มีวางจำหน่ายทั่วไป หรือกระทั่งที่เราใช้งานอยู่ หลายคนก็คงจะคุ้นตากับสีเงินของสารกันยูวีที่อยู่ด้านในของใบร่ม ขณะที่ใบ หรือผ้าด้านนอกนั้นจะมีสีสัน หรือลวดลายอื่น ๆ จึงทำให้นำมาซึ่งความเข้าใจผิดว่าสินค้ารุ่นกันยูวีนั้นจะต้องเคลือบสารที่ใบด้านในเท่านั้น แต่ความจริงแล้วการเคลือบสารฯสามารถทำได้จากทั้งด้านในและด้านนอก แต่ที่นิยมเคลือบด้านในก็เพราะเหตุผลเรื่องของความสวยงามนั่นเอง

ผ้าร่มหนา ๆ สามารถป้องกันยูวีและความร้อนได้ดีกว่า อีกหนึ่งความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนและรังสียูวีก็คือ ความหนาของผ้าที่ใช้ทำใบร่มนั่นเอง หลายคนเข้าใจว่ายิ่งผ้ามีความหนาเท่าไหร่ก็ยิ่งกันความร้อน และยูวีได้ดีเท่านั้น ทว่าความจริงแล้วความหนาของใบร่มนั้นมีผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันยูวี และความร้อนน้อยมาก โดยเพียงมีความหนาในระดับมาตรฐาน กล่าวคือมีความทึบเพียงพอป้องกันแสงทะลุรอดได้ก็นับว่ามากพอที่จะกันรังสียูวีได้ในระดับ 90-99% แล้ว อีกทั้งความหนาที่เพิ่มเติมขึ้นมาจะส่งผลเสียในเรื่องของน้ำหนักร่มที่เพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ