ข้อดีข้อเสียและวิธีเลือกใช้งานร่มพับแต่ละแบบ

แม้ว่าลักษณะพื้นฐานของตัวสินค้า ร่มดูจะเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีลักษณะที่ซับซ้อนอะไร อีกทั้งประโยชน์ใช้งานก็เรียกได้ว่าเป็นสินค้าที่มีประโยชน์ใช้งานแสนธรรมดา คือกางใช้งานเพื่อกันฝน หรือกันแดด แต่หากมองในแง่การผลิต และแนวคิดการออกแบบ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันกับการพับเก็บตัวสินค้าหลังการใช้งานก็ต้องถือว่าเป็นสินค้าอีกชิ้นที่มีความซับซ้อนในส่วนโครงสร้าง และยืดหยุ่นในเรื่องของขนาดสินค้ามากทีเดียว โดยขณะกางใช้งานสินค้าแต่ละแบบ แต่ละรุ่นอาจมีรูปทรงที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่เมื่อพับเก็บกลับมีขนาดที่แตกต่างกันไปตามรูปทรงและรูปแบบการพับเก็บของโครงร่ม

ทั้งนี้รูปแบบการพับเก็บโครงร่มที่ผู้ผลิตนิยมใช้เป็นต้นแบบในการออกแบบและผลิตสินค้าในปัจจุบันก็มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน โดยหลักๆจะแบ่งตามจำนวนตอนในการพับเก็บ ซึ่งจำนวนตอนในการพับเก็บที่มากน้อยต่างกันนั้นก็ทำให้ตัวสินค้ามีข้อดีข้อเสียที่ต่างกันไปด้วย ในบทความนี้จึงจะอธิบายถึงข้อดีข้อเสียของร่มแต่ละแบบที่มีรูปแบบการพับเก็บที่แตกต่างกัน เพื่อให้หลายคนได้ใช้เป็นแนวทางในการเลือกหาใช้งานสินค้าชนิดนี้ หรือกระทั่งใช้เป็นแนวทางในการเลือกออกแบบและผลิตสินค้าชิ้นนี้เพื่อใช้งานเป็นสินค้าพรีเมี่ยมสำหรับบริษัท องค์กรของตัวเอง

จำนวนตอนในการพับเก็บมีผลต่อความแข็งแรงของตัวร่มตอนเดียว โดยทั่วไปแล้วจำนวนตอนในการพับเก็บถือได้ว่ามีผลต่อความแข็งแรงของตัวสินค้าโดยตรง ยิ่งจำนวนตอนในการพับเก็บน้อยสินค้าก็มีแนวโน้มที่จะมีความแข็งแรงมั่นคง ตรงกันข้ามหากจำนวนตอนในการพับเก็บมาก สินค้าก็มีแนวโน้มที่จะชำรุด เสียหายได้ง่าย โดยจำนวนตอนในการพับเก็บร่มตามดีไซน์มาตรฐานทั่วไปจะมีดังนี้

แบบพับเก็บ 2 ตอน โดยจะเป็นลักษณะการดึงพับเก็บเข้ามาหาตัวครั้งเดียว ซึ่งร่มลักษณะนี้ถือได้ว่าได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีความมั่นคงแข็งแรงดี โดยเฉพาะการใช้งานเพื่อกางกันฝนนั้นนับว่ามีความทนทานต่อแรงลมได้ดีในระดับนึง แต่ขณะเดียวกันร่มประเภทนี้ก็มีข้อเสียตรงที่เมื่อพับเก็บแล้วสินค้าก็ยังคงมีขนาดที่ใหญ่ เพราะเป็นลักษณะพับเก็บโครงแค่ 2 ตอนตามกล่าว ทำให้หลายคนอาจรู้สึกไม่ค่อยสะดวกในการจัดเก็บหลังการใช้งาน หรือพกติดตัวไปยังสถานที่ต่างๆ

แบบพับเก็บ 3 ตอน ร่มพับที่มีดีไซน์การพับเก็บโครงแบบ 3 ตอน ถือได้ว่ามีข้อดีเรื่องของขนาดเมื่อพับเก็บหลังการใช้งาน ซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่าแบบ 2 ตอนชัดเจน เพราะโครงร่มถูกออกแบบมาให้พับได้ 3 ตอน จึงเป็นร่มที่สามารถพกพาได้สะดวก สามารถเก็บใส่กระเป๋าเป้ หรือกระเป๋าผ้าขนาดมาตรฐานทั่วไปได้ แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ความมั่นคงแข็งแรงของตัวสินค้าไม่มากเท่ากับแบบพับ 2 ตอน หากเป็นการใช้งานในลักษณะกางกันฝน ซึ่งอาจปะทะกับลมแรงในเวลาเดียวกันด้วยก็มีความเสี่ยงที่โครงร่มจะหลุดตามรอยต่อการพับได้ ในแง่ความเหมาะสมกับการใช้งานจึงอาจเรียกได้ว่าเป็นร่มที่เหมาะสำหรับใช้กางเพื่อกันแดดมากกว่า

แบบพับเก็บ 5 ตอนหรือร่มกอล์ฟร่มดีไซน์แบบพับเก็บโครง 5 ตอนนี้ก็ชัดเจนว่าเป็นการออกแบบมาเพื่อเน้นข้อดีเรื่องขนาดและการพกพา ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อพับเก็บสินค้าจะมีขนาดที่เล็กกว่าทั้งแบบ 2 ตอน และ 3 ตอน ทำให้พกพาติดตัวไปใช้งานได้อย่างสะดวก แต่ก็มาพร้อมข้อเสียในเรื่องความแข็งแรงของตัวสินค้าที่ดูจะเหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อกันแดดในสภาพอากาศที่นิ่ง ไม่มีลมแรงเท่านั้น