เลือกร่มพกพาอย่างไร ให้แข็งแรงไม่พังง่าย
ร่มนับว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญชนิดหนึ่ง ที่ช่วยป้องกันเราได้จากหลายสภาพอากาศ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันเราจะแสงแดด ซึ่งแฝงไว้ด้วยรังสียูวีที่จะทำลายผิว และหากเรารับในปริมาณที่มากจนเกินไป อาจทำให้เราเป็นมะเร็งได้ หรือแบบคลาสสิกที่สุด ร่มยังสามารถใช้ในการกันฝนและกันลมได้ด้วย ดังนั้นในช่วงหน้าฝน เราจึงเห็นผู้คนมักจะพกอุปกรณ์ชนิดนี้ไปไหนมาไหน และพกพาติดตัวไว้เสมอ นอกจากนี้บางคนยังใช้เพื่อเป็นแฟชั่นได้ด้วย ในท้องตลาด เราจะพบเห็นร่มด้วยกันมากมายหลากหลายรูปแบบ เช่น ร่มตอนเดียว ร่มไม้เท้า ร่มพับ หรือจะเป็นร่มใส ประโยชน์ที่ใช้สอยก็จะแตกต่างกันออกไป
แต่ไม่ว่าจะเป็นร่มในรูปแบบไหนก็ตาม ก็มีวิธีในการพิจารณาการเลือก เพื่อให้ได้แบบที่แข็งแรงและไม่พังง่าย ในเรื่องของฟังก์ชันการใช้งาน แต่ละคนก็มีการใช้งานที่แตกต่างกัน การเลือกประเภทที่แตกต่างกันนั้นนับว่าเข้าใจได้ แต่ในเรื่องของความแข็งแรง เรามีวิธีการเลือกอยู่ไม่กี่วิธี ซึ่งไม่ว่าจะเป็นร่มในรูปแบบไหน ก็สามารถใช้วิธีการเลือกเดียวกันนี้ได้ทั้งนั้น และในวันนี้ เราจะพาคุณมาเลือกร่ม ว่าจะเลือกอย่างไร ถึงจะได้แบบที่แข็งแรงทนทาน และไม่พังง่ายๆ
ดูที่จำนวนข้อต่อของร่ม
จำนวนข้อต่อนั้น เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ส่งผลอย่างมากในเรื่องของความแข็งแรง โดยในปกติแล้ว เรามักจะเห็นทำออกมาในรูปแบบร่มพับ แบบ 2 ตอน 3 ตอน และรูปแบบของ 5 ตอน โดยยิ่งมีจำนวนข้อต่อที่เยอะเท่าไหร่ ไม่ได้หมายความว่ามีความแข็งแรงมากขึ้นนะ กลับกัน ยิ่งมีจำนวนขอตอบมากขึ้นเท่าไหร่ สิ่งนี้ก็จะมีความแข็งแรงลดลงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ร่มในแบบที่มีข้อต่อ 3 ช่วง จะมีความแข็งแรงน้อยกว่าแบบที่มีข้อต่อ 2 ช่วง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการทำข้อต่อนั้น และขั้นตอนในการผลิตด้วย
ดูในเรื่องของวัสดุที่ใช้ในการทำร่ม
แน่นอนว่า การจะได้อุปกรณ์กันฝนที่มีความแข็งแรงทนทาน ไม่พังง่าย และสามารถที่จะหยิบมาใช้งานได้อยู่เสมอและยาวนาน จำเป็นที่เราจะต้องพิจารณาว่า อุปกรณ์สำคัญชิ้นนี้ถูกผลิตด้วยวัสดุแบบไหน และวิธีการแบบไหนด้วย ซึ่งในส่วนประกอบต่างๆของอุปกรณ์การฝนชนิดนี้ ก็จะมีการใช้วัสดุที่มีความแตกต่างกันออกไปหลากหลาย
บริเวณโครงและซี่โครง บริเวณส่วนนี้ จะรับน้ำหนักและทนต่อแรงลมกับฝน ด้วยเหตุนี้เอง จึงจำเป็นที่จะต้องทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรงสูง และจะต้องไม่ขึ้นสนิมเมื่อเปียกน้ำ อีกทั้งยังต้องตากแดดตากลมได้อย่างสบาย ส่วนใหญ่แล้ว หากเป็นในรูปแบบมาตรฐานทั่วไป มักจะถูกผลิตด้วยอลูมิเนียมชนิดพิเศษ นอกจากนี้ ยังควรที่จะตรวจสอบในเรื่องของรอยต่อของชิ้นส่วนต่างๆ ว่ามีความหนาแน่น เหมาะแก่การนำมาใช้งานได้หรือไม่
ส่วนต่อไปคือส่วนของผ้า ส่วนนี่คือส่วนประกอบที่มีหน้าที่ในการกันแดดและกันฝน จำเป็นที่จะต้องผลิตด้วยวัสดุที่เป็นผ้าไนล่อน หรือผ้าแบบโพลีเอสเตอร์ จำเป็นที่จะต้องกันน้ำได้ดี รวมทั้งจะต้องป้องกันแสงยูวีได้อีกด้วย ที่สำคัญคือเรื่องของอายุการใช้งาน ที่จำเป็นจะต้องมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
บริเวณด้ามจับ บริเวณนี้ก็ถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรจะให้ความสำคัญ โดยอาจจะผลิตจากวัสดุที่เป็นโลหะ ที่มีน้ำหนักเบาแต่ก็ยังสามารถกันสนิมได้ หรืออาจจะเป็นวัสดุพลาสติกแบบ ABS ที่แข็งแรงและไม่แตกหักง่าย หรืออาจเป็นยาง ที่จับได้ง่ายแบบกระชับมือ และมีความนุ่มมือเป็นพิเศษ และหากมีสายคล้องติดมาด้วย ก็ควรเป็นสายคล้องที่มีความเหนียวทนทาน และไม่ขาดง่าย