การบำรุงรักษา ร่ม หลังใช้งานหนัก

ถึงแม้ว่าอุปกรณ์พกพาอย่างร่มจะหาซื้อได้ง่ายซึ่งมีวางขายโดยทั่วไปมีหลากหลายแบบไม่ว่าจะเป็น ร่มพับ ร่มกอล์ฟ ร่มตอนเดียว แต่จะเป็นการดีกว่าไหมถ้าหากว่าเราได้ค้นพบร่มที่ถูกใจในการใช้งานมีความคุ้นชิน และ ให้การดูแลรักษา เพื่อให้คงทนใช้งาน เป็นเพื่อนคู่ใจไปด้วยกันได้อีกนาน ๆ
ซึ่งถึงแม้ว่าร่มจะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถรองรับการเผชิญกับมลภาวะแวดล้อม รวมถึงสภาพอากาศที่ รุนแรงได้ ไม่ว่าในวันที่มีแสงแดดแผดจ้าหรือในวันที่มีพายุฝนโหมกระหน่ำ แต่ร่ม ก็ยังจำเป็นจะต้อง ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีอยู่เสมอ

ทั้งนี้เรามักจะเคยชินกับรูปแบบการดูแลแบบง่าย ๆ โดยที่บางครั้งอาจมีการใช้งานที่ค่อนข้างสมบุกสมบัน ดังนั้นรูปแบบของการดูแลรักษาก็จะต้อง กระทำเพิ่มขึ้นอย่างสอดคล้องกับลักษณะของการใช้งานนั่นเอง

 

โดยปกติแล้วเวลาใช้ร่มเรามักจะมีการบำรุงรักษาด้วยวิธีพื้นฐานทั่วไป เช่นการหาที่ผึ่งระบายอากาศและกางเอาไว้ แต่สำหรับในบริบทที่จะต้องเผชิญกับงานหนัก มีการใช้ร่มฝ่าลมฝนเป็นระยะเวลายาวนาน หรือมีการใช้งานแบบติดกันซ้ำ ๆ บ่อยครั้งในช่วงฤดูฝน หรือมีการนำไปเผชิญกับคราบสกปรกน้ำโคลน หรือนำไปใช้ในแคมป์งานที่ต้องเผชิญกับสารเคมีหลายชนิด
กรณีเหล่านี้จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการบำรุงรักษาเป็นพิเศษหลังการใช้งานหนัก

ก่อนอื่นให้มองหาพื้นที่สำหรับการวางร่มที่เหมาะสมซึ่งจะต้องมี ความกว้างเพียงพอที่จะวางผึ่งไว้ได้อีกทั้งยังควรเป็นพื้นที่ ที่มีการไหลเวียนของอากาศ ได้ดี และเป็นจุดวางที่ไม่สร้างอุบัติเหตุให้กับผู้คนภายในสถานที่

จากนั้นก็ให้เตรียมอุปกรณ์ได้เลย ซึ่งประกอบไปด้วย ผ้าแห้ง แปรงสีฟันเก่า และน้ำยาครีมหรือสารสำหรับถนอมรักษาโลหะ อย่างเช่น น้ำมันอเนกประสงค์ทั่วไป โดยเมื่อผึ่งร่มได้แห้งดีแล้ว
ให้ใช้ผ้าแห้ง เช็ดร่มเบา ๆ เช็ดทั่วโครงสร้างทั้ง กิ่งก้านของร่มรวมถึงคันล่ม และซอกมุมต่าง ๆ ที่เป็นโลหะ ให้แห้งสะอาดเรียบร้อยก่อน จากนั้นจึงใช้น้ำมันอเนกประสงค์สำหรับถนอมโลหะ เข้าชโลมหรือฉีดพ่น ให้ทั่วถึงในซอกมุมต่าง ๆ

หากมีจุดใดที่เกิดคราบ ใช้แปรงสีฟันเก่าขัดเบา ๆ จากนั้นใช้ผ้าแห้งเช็ดออก โดยไม่ต้องล้างด้วยน้ำเปล่า

 

อย่าลืม ทำขั้นตอนนี้กับส่วนโลหะที่เป็นส่วนย่อยอาทิเช่นกระดุมสำหรับที่รัดร่มด้วย โดยหากมีวัสดุที่เป็นเนื้อไม้ก็ให้ใช้ น้ำยาสำหรับการถนอมเนื้อไม้โดยเฉพาะ เมื่อเสร็จเรียบร้อยให้ทำการตรวจสอบผ้าใบของร่มว่าอยู่ในสภาพที่ยังคงทนสมบูรณ์ดีหรือไม่ และมีร่องรอยการฉีกขาด หรือร่องรอยการเปื่อยยุ่ยหรือไม่

หากมีให้ทำการซ่อมตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่ร่องรอยเหล่านั้นจะลุกลาม โดยการซ่อมทำได้ทั้งการเย็บ หรือการปิดเทป
อีกทั้งยังควรสังเกตลักษณะของร่ม ว่าอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่ โดยสภาพที่ดีนั้นหมายถึงไม่ควรจะมีการบิดงอโก่งหรือสึกกร่อนด้วยคราบสนิม

เมื่อตรวจสอบเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว ให้ลองทำการ เก็บร่มสลับกางออก สัก 2-3 ครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าการทำงานของกลไกลมีการขับเคลื่อนที่เรียบรื่นดีหรือไม่ หากพบจุดติดขัดให้ทำการตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ นั่นอาจกระทบในวันข้างหน้าหากคุณเผชิญกับสถานการณ์จำเป็นต้องใช้งานอย่างเร่งด่วน ก็อาจจะมีการชำรุดเกิดขึ้นกะทันหันได้ หรือแม้แต่การกางไม่ออกหรือพับเก็บไม่ได้

 

โดยการบำรุงรักษาและตรวจสอบ นั้นควรกระทำทุกเมื่อที่มีการใช้งานหนัก
เพราะการชำรุดเสียหายของร่ม มักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุ ที่ผู้ใช้นั้นเมื่อเผชิญกับสภาพดินฟ้าอากาศที่รุนแรงก็มักจะสนใจในประเด็นอื่น ๆ ก่อน แล้วละเลยลืมการบำรุงรักษาร่มไป
ซึ่งแน่นอนว่าการสนใจในประเด็นอื่น ๆ ก่อนนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกันในหลายประเด็น ไม่ว่าการชำระล้างร่างกายรีบเข้าไปอาบน้ำหรือรีบดูแลทรัพย์สินอื่น ๆ รวมถึงดูแลบุคคลรอบข้าง
แต่ขอเพียงแค่เมื่อคุณเสร็จสิ้นจากภาระหน้าที่เหล่านั้น ก็อย่าลืมเหลียวมองดู ร่มที่ช่วย ลดผลกระทบต่าง ๆ เป็นของคู่ใจที่ลุยด้วยกันมา ดูแลร่มที่แสนรักอย่างดีในลำดับต่อไป ทั้งนี้ก็ควรมีที่เก็บร่ม เพื่อการเก็บรักษาที่ดียิ่งกว่าเดิม