ร่มพับ พกง่าย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย

ร่มพับเป็นที่นิยมกันมาก เพราะร่มพับเป็นร่มที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาง่าย สามารถพับเก็บได้ มักใช้สำหรับการพกพา ไม่ว่าจะเป็น วัยเรียน วัยทำงาน ที่ใช้ร่มพับในการป้องกันจากแสงแดด และฝนได้เป็นอย่างดี ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้ว่าร่มพับนั้นแบ่งออกเป็น 2 ตอน 3 ตอน และ 5 ตอน โดยให้ความหมายง่าย ๆ คือยิ่งจำนวนตอนมากเวลาพับเก็บก็จะยิ่งเล็กลง แต่ถ้ากางออกมาจะมีขนาดแตกต่างจากร่ม 16 ก้านไม่มากนัก ซึ่งเหมาะอย่างมากสำหรับพนักงานออฟฟิศ หรือคนทำงาน ที่ชอบพกร่มไว้ในกระเป๋าตลอด เพราะร่มมีน้ำหนักเบา และไม่กินเนื้อที่มากจนเกินไป และคุณประโยชน์ที่ได้จากร่มก็ คือ สามารถกันแสง UV จากแดด และกันฝนได้เป็นอย่างดีจึงเป็นที่นิยมใช้เป็นจำนวนมากในตอนนี้

คุณอาจจะยังไม่รู้ว่าร่มพับมีความแข็งแรงแตกต่างกัน ร่มพับบางคันอาจไม่มีความแข็งแรงเท่าที่ควร เวลากางร่มตอนลมแรงอาจจะทำให้ร่มพับเสียหายได้ง่าย หรือใช้งานเพียงไม่กี่ครั้งก็ไม่สามารถใช้งานได้อีก เพราะร่มพับเหล่านี้ถูกผลิตโดยใช้วัสดุไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ซึ่งปัจจุบันนี้เราจะเห็นกันได้ว่า ร่มพับเป็นที่นิยม เพราะไม่สร้างความเกะกะให้กับผู้ใช้ เพราะร่มพับเก็บง่าย หยิบง่าย เหมาะกับอากาศในประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะร่มส่วนใหญ่ก็เริ่มผลิตร่มที่สามารถปกป้องรังสียูวีจากแสงแดดได้ ไม่เว้นแต่ร่มชนิดอื่น ๆ ก็สามารถป้องกันแสงแดด และฝนได้เช่นกัน ที่คนส่วนใหญ่หันมาใช้ร่มพับเพราะว่าเป็นร่มที่มีราคาค่อนข้างถูก และเบากว่าร่มชนิดอื่น ๆ จึงทำให้ร่มพับเป็นที่นิยมสำหรับคนส่วนมากนั่นเอง เราจึงมีวิธีการเลือกร่มพับอย่างไร ว่ามีความแข็งแรง และทนทาน เหมาะกับการใช้งานได้ จึงควรคำนึงถึงคุณภาพ และความปลอดภัยในการใช้ร่มดังต่อไปนี้

1.เราต้องรู้ก่อนว่าร่มพับแต่ละชนิดมีความแข็งแรงไม่เท่ากัน ?

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าร่มพับนั้นมีหลายชนิด เช่น ร่มพับ 2 ตอน , ร่มพับ 3 ตอน

และร่มพับ 5 ตอน ซึ่งในแต่ละชนิดนี้จะมีโครงสร้างร่มที่แตกต่างกัน แม้ว่าเวลากางแล้วจะมีความคล้ายกันมากก็ตาม ลองเปรียบเทียบระหว่าง ร่มพับ 2 ตอน กับร่มพับ 3 ตอน ซึ่งข้อต่อของร่มพับ 2 ตอนจะน้อยกว่า ร่มพับ 3 ตอน ถ้าหากเราดูจากข้อต่อจะรู้ได้ทันทีว่ายิ่งข้อต่อเยอะอาจเพิ่มจุดอ่อนให้กับร่มได้ง่าย เพราะการที่มีข้อต่อร่มเยอะอาจจะทำให้ร่มนั้นเกิดการหักได้ง่ายกว่า

2.ร่มพับที่แข็งแรงควรทำจากวัสดุอะไร ?

ดูวัสดุที่นำมาใช้ ต่อให้ร่มใช้งานได้เหมือนกัน แต่วัสดุที่นำมาใช้ก็ย่อมมีความแตกต่าง เพราะร่มนั้นได้มีการผลิตมาจากหลายที่ วัสดุที่นำมาใช้ แน่นอนว่าอาจจะไม่เหมือนกันทั้งหมด อันดับแรกให้ดูจากโครงร่ม และซี่โครงร่ม ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของร่ม เพราะเป็นส่วนที่บอกว่าร่มของเราจะแข็งแรงหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับโครงร่มนั่นเอง และถ้าหากใช้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพมากพออาจจะทำให้โครงร่มเสียหายได้ง่าย วัสดุที่ใช้สำหรับทำโครงร่ม ควรเป็นอลูมิเนียมชนิดพิเศษ ซึ่งจะมีน้ำหนักเบา แข็งแรง และไม่ขึ้นสนิมง่าย ต่อมาก็ดูจากผ้าที่ทำร่มจะต้องเป็นผ้าที่ป้องกันแสงแดด และกันฝนได้ ส่วนมากจะใช้ผ้าไนลอนในการทำ เพราะเป็นผ้าเคลือบ และสามารถป้องกันน้ำ กันแสงแดด UV ได้ดีอีกด้วย สุดท้ายเป็นส่วนด้ามจับซึ่งเป็นส่วนที่เราเอาไว้จับหรือใช้งาน เพื่อให้ร่มกางออกมาอย่างสวยงาม ซึ่งจะติดอยู่กับโครงร่ม ซึ่งด้ามจับจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นทรงกลม ทรงรี หรือทรงเหลี่ยม และควรจับได้ถนัดมือ ไม่ใหญ่จนเกินไป เป็นส่วนที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่เราเวลาถือ

3.ร่มที่ได้มาตราฐานการผลิต

ผู้บริโภคส่วนใหญ่น่าจะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าสินค้าชนิดนี้ผ่านมาตราฐานความปลอดภัยอย่างแน่นอน เราจะมาเปรียบเทียบการใช้งานของร่มพับ และร่มยาวให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าร่มพับนั้นมีสิ่งที่เอื้ออำนวยประโยชน์ได้ดีกว่าร่มชนิดอื่นในเรื่องของการจัดเก็บที่ให้ความสะดวก ไม่กินพื้นที่มากเกินไป เวลาเราเก็บใส่ในกระเป๋าก็ให้ความรู้สึกเบา ที่สำคัญร่มพับยังแข็งแรง และทนทานซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ร่มพับมีสีให้เราเลือกซื้อกันได้มากมายแล้วยังสามารถ นำมาประกอบธุรกิจเป็นของตนเองได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นการใช้งานของร่มพับเราก็ได้เห็นกันแล้ว ส่วนร่มชนิดอื่น ๆ ก็จะมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น ร่มกอล์ฟ เป็นร่มที่มีขนาดใหญ่  เหมาะสำหรับกันแดด กันฝน และส่วนใหญ่จะอยู่ในสนามรถ สนามกอล์ฟเป็นสวนใหญ่ จะมีความหนาของผ้าที่นำมาทำเป็นร่ม และโต้ลมได้เป็นอย่างดี

สุดท้ายแล้วการใช้ร่ม ไม่ว่าจะเป็นร่มประเภทใดก็ตาม สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นที่เรานำมาใช้ ร่มบางชนิดก็ไม่สามารถใช้แทนกันได้เสมอไป เพราะการใช้งาน และการผลิตจะมีข้อแตกต่างกันอยู่แล้ว เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความที่เราเขียนจะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย ร่มพับจึงกลายเป็นร่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะร่มพับสอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของคนในปัจจุบันอย่างเรานั่นเอง